19-22 MAY 2011
BITEC BANGKOK THAILAND
|
|
ภายในปี 2554 เชื่อกันว่าอุตสาหกรรมการผลิตจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รายงานถึงภาวะ การลงทุนในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 ว่ามีโครงการยื่นขอรับการ ส่งเสริมการลงทุนจำนวน 413 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 1.35 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ , เครื่องจักรกลอุตสาหกรรม , โลหะแผ่น , เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่ารวมถึง 1.06 แสนล้านบาท
ในอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทรถยนต์ชั้นนำได้แก่ ฟอร์ด, โตโยต้า, มิตซูบิชิ, ฮอนด้า, ซูซูกิ และ นิสสัน ได้เข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทย โดยเฉพาะการขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมเพื่อรองรับโครงการรถยนต์ ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) โดยมีการคาดหมายว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ จะสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 1.8 ล้านคัน ในปี 2554, 2 ล้านคัน ในปี 2555, 2.2 ล้านคัน ในปี 2556 และ 2.5 ล้านคัน ในปี 2557 ซึ่งรถที่ได้รับ ความนิยมส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์ประหยัดพลังงาน
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเช่นกัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รายงานถึงการเติบโตของกลุ่ม อุตสาหกรรมนี้ในไตรมาสแรกของปี 2553 โดยมีอัตราการเจริญเติบโตขึ้น ราว 33.34% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ภาวะโดยรวม ของอุตสาหกรรมเป็นการส่งออกกว่า 50% โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 คาดว่าอุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มโตขึ้น 23.37% เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ น่าจะโต ขึ้นถึง 56.2% เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการเจริญเติบโตขึ้นเนื่อง มาจาก คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ ซึ่งไทยเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บวกกับแรงงานที่มีคุณภาพและการจัดการ ด้านโลจิสติกส์ การบริการที่ดี เป็นทางเลือกของผู้ประกอบการรายใหญ่ ในอุตสาหกรรมนี้
โดยภาพรวมของการส่งออกที่แข็งแกร่ง การลงทุนของภาครัฐและโครงการ ขนาดใหญ่ของรัฐบาล โครงการรถไฟฟ้ามวลชน โครงการรถไฟรางคู่ ความเร็วสูง และโครงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิในเฟสที่ 2 ทำให้ ประเทศไทยเป็นที่น่าสนใจในสายตานักลงทุน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง จะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน
อินเตอร์แมคจัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1984 เติบโตกลายเป็นสัญลักษณ์ควบคู่กับอุตสาหกรรมและการเติบโตของผู้ประกอบการไทย การจัดงานทุกครั้งในเดือนพฤษภาคมตรงกับช่วงเวลาการจัดซื้อในอุตสาหกรรม โดยการจัดงานมีการพัฒนารูปแบบงานอยู่เสมอ การนำผู้ประกอบการและพาวิลเลี่ยนจากต่างประเทศ หัวข้อการจัดประชุมสัมมนาโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม กิจกรรมสนับสนุนสถาบันการศึกษาและการจับคู่ทางธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ ประกอบการรายย่อย โดยในงานที่ผ่านมา มีธุรกรรมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นประมาณ 1 พันล้านบาท และคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นตามมาอีกในอนาคตไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
“คุณภาพ” คือหัวใจสำคัญสำหรับอินเตอร์แมค
คุณภาพของเครื่องจักรกล – พบกับผู้ประกอบการชั้นนำกว่า 1,200 ราย นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ชั้นนำกว่า 3,500 รายการ บางรายการเปิดตัวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเชีย
คุณภาพของการประชุมสัมมนา – การให้ความรู้กับผู้ประกอบการระดับปฎิบัติการจนถึงระดับบริหาร พบกับการประชุมในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจ การประชุมเฉพาะของนักธุรกิจญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยและกำลังจะลงทุนใน ประเทศไทย
คุณภาพของผู้เข้าชมงาน – ผู้เข้าชมงานที่มีคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของงานผู้ประกอบการทั้งไทยและ ต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ประธานบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการโรงงานและฝ่ายผลิต ผู้จัดการ แผนกจัดซื้อและวิศวกร จากรายงานสรุปหลังงานพบว่าแขกวีไอพีเหล่านี้ อยู่ภายในงานเพื่อมองหาและเลือกซื้อเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในงานอินเตอร์แมค